เชื้อไวรัสอีโบลาอีโบลา Ebola จะอยู่อยู่ในสัตว์ คนได้รับเชื้อนี้จากสัตว์ที่มีเชื้อโรค การติดต่อจากคนสู่คนโดยการได้รับสารหลั่งขณะนี้ยังไม่มียาสำหรับรักษาโรคนี้
Ebola virus อยู่ใน family ที่เรียกว่า Filoviridae นักวิทยาศาสตร์แบ่งไวรัสอีโบลานี้เป็น 5 ชนิด 4 อีโบล่าชนิดมีรายงานว่าทำให้เกิดโรคในคนได้แก่เชื้อ
Ebola-Zaire virus
Ebola-Sudan virus
Ebola-Ivory Coast virus
และ Ebola-Bundibugyo
อาการของโรคอีโบลา Ebola
หลังจากได้รับเชื้อประมาณ2-21วัน(ระยะฟักตัว) ระยะแรกจะมีอาการดังต่อไปนี้
ไข้ หนาวสั่น
ปวดศีรษะอย่างมาก
ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ
เจ็บคอ
อ่อนเพลีย
ท้องร่วง
คลื่นไส้ อาเจียน
ท้องร่วงซึ่งอาจจะมีเลือดออกทางเดินอาหาร ถ่ายเป็นเลือด
ตาแดง
มีผื่นนูน
ไอ เจ็บหน้าอก
จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร
น้ำหนักลด
มีเลือดออกทางจมูก ปาก ทวาร หู ตา
บวมอวัยวะเพศ
สาเหตุของโรคอีโบลา
เชื้อไวรัสอีโบลาอีโบลา Ebola พบในสัตว์ เช่น ลิงชิมแปนซี
การติดต่อจากสัตว์สู่คน
คนจะได้รับเชื้อไวรัสอีโบลาจากสารหลั่งของสัตว์ทาง
เลือดของสัตว์ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารสัตว์ป่าที่ไม่สุก
ของเสียของสัตว์ เช่นอุจาระค้างคาวในถ่ำ
การติดต่อจากคนสู่คน
สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นหากยังไม่เกิดอาการ
คนจะติดเชื้อเมื่อดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์จะติดเชื้อนี้หากไม่ป้องกันตัวเองเช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่สวมถุงมือ
ยังไม่มีหลักฐานว่ายุงจะเป็นพาหะของโรค
การแพร่เชื้อของโรคอีโบลา
การแพร่เชื้อจากคนสู่คนของอีโบลามีได้หลายวิธีส่วนใหญ่จะแพร่จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งทางการสัมผัสโดยตรง (ผ่านทางเยื่อบุต่างๆเช่น ตา จมูก ปาก และแผลที่ผิวหนัง)โดยผ่านทาง
การสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งเช่น ปัสสาวะ น้ำลาย เหงื่อ อุจาระ อาเจียน น้ำนม น้ำเชื้อ จากคนที่ป่วย
เข็มฉีดยา หรือ syringesที่ปนเปื้อนเชื้อ
สัตว์ที่ป่วย
ทางอาหารโดยรับประทานอาหารที่มีเชื้อ(อาหารป่า) ยังไม่มีหลักฐานว่ายุงจเป็นตัวนำเชื้อโรค
สำหรับบุคคลากรทางการแพทย์หากไม่สวมหน้ากากอนามัย เสื้อคลุม ถุงมือ แว่นตา จะมีโอกาศติดเชื้อสูง สำหรับผู้ที่หายจะโรคควรจะงดการมีเพศสัมพันธ์ 3 เดือน หรือให้สวมถุงยางอนามัย
ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ Ebola
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นหากท่านไปท่องเที่ยวยังถิ่นที่มีการระบาดในอดีต
สำหรับนักวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ติดขณะแต่งศพ
เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วย ญาติ เพื่อนใกล้ชิดกับผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ผู้ที่ทำอาหารป่า
โรคแทรกซ้อนของไวรัสอีโบลา Ebola
อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อ Ebola จะสูง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่
หลายอวัยวะล้มเหลว
เลือดออกรุนแรง
ดีซ่าน
สับสน
ชัก
โคม่าหมดสติ
ช็อค
สำหรับผู้ที่หายจากโรคจะใช้เป็นเดือนกว่าร่างกายจะกลับสู่ปกติ และเชื้อจะยังอยู่ในร่างกายหลายสัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้
ผมร่วง
มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการรับความรู้สึก
ตับอักเสบ
อ่อนแรง
ปวดศีรษะ
ตาอักเสบ
อัณฑะอักเสบ
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยจะค่อนข้างยากเพราะระยะแรกของอาการจะเหมือนกับไข้ไทฟอยด์ หรือไข้มาราเรีย แต่หากได้ประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยหรือไปยังถิ่นระบาด และแพทย์สงสัยก็จะเจาะเลือดตรวจด้วยวิธี
การรักษาโรคอีโบล่า
ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเพียงแค่การให้น้ำเกลือ การรักษาความดันโลหิต การเติมเลือด
การให้น้ำเกลืออย่างเพียงพอ และสมดุลของเกลือแร่
รักษาความดันโลหิตและออกซิเจนในเลือด
รักษาโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
การป้องกันโรคอีโบล่า
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา Ebola ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อไวรัสอีโบลา
หลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ ก่อนจะไปเที่ยวให้ตรวจสอบพื้นที่ระบาดก่อนท่องเที่ยว
ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆโดยใช้น้ำเปลา และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอลล์สำหรับล้างมือหากไม่มีน้ำหรือสบู่
ไม่มีเพศสัมพันธ์กับตนในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย
ผักและผลไม้ต้องล้างให้สะอาด
หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ป่าอาหารป่า
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งเช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด น้ำเชื้อของผู้ป่วย
หลีกเลี่ยงของประจำตัวของผู้ป่วยเช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะอาจจะมีเชื้อปนเปื้อน
สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เส้ือคลุ่ม แว่นตาเมื่อต้องดูแลผู้ป่วย
ศพของผู้เสียชีวิตยังสามารถแพร่เชื้อได้ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ไม่นอนในโรงพยาบาลที่มีคนป่วยด้วยโรคอีโบลา
หากอยู่ในแหล่งระบาดจะต้องเฝ้าดูอาการอีก 21 วัน
สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
สวมอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง เช่นหน้ากากอนามัย แว่นตา เสื้อคลุม ถุงมือ หมวก
แยกผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาจากผู้ป่วยอื่น
จัดการเรื่องศพให้ดีเพราะเกิดการแพร่เชื้อจากศพได้
แจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
ให้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ
ยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรค
Credited: www.siamhealth.net
0 comments :
Post a Comment